คำคม : จาก วินสตัน เชอร์ชิล - ยิ้มกว้าง

ยิ้มกว้าง

รู้ทันความคิด รู้ทันคน อ่านนิสัยใจคนของคนรอบข้าง

Breaking News

Home Top Ad

วันอาทิตย์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

คำคม : จาก วินสตัน เชอร์ชิล



วินสตัน เชอร์ชิล ชื่อเต็มคือ เซอร์ วินส์ตัน ลีโอนาร์ด สเปนเซอร์-เชอร์ชิล 

เขาเป็นรัฐบุรุษชาวอังกฤษผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแห่งสหราช

อาณาจักร โดยเขาเคยได้รับรางวัลโนเบลสาขาอักษรศาสตร์ 

และเป็นที่ยอมรับของประชาชนว่าเขาเป็นผู้นำที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในยุคสงคราม

ของศตวรรษที่ 20 ด้วย




ประวัติ :  เซอร์วินสตัน ลีโอนาร์ด สเปนเซอร์-เชอร์ชิล (อังกฤษ: Winston Leonard Spencer-Churchill) เป็นรัฐบุรุษชาวอังกฤษผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแห่งสหราชอาณาจักรสองสมัย ระหว่างปี 1940 ถึง 1945 และปี 1951 ถึง 1955 ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางว่าเป็นผู้นำที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในยุคสงครามของศตวรรษที่ 20 นอกจากนี้ วินสตันยังเป็นทหารในกองทัพอังกฤษ, นักประวัติศาสตร์, นักเขียน, ตลอดจนศิลปิน เขาได้รับรางวัลโนเบลสาขาอักษรศาสตร์ และยังเป็นบุคคลแรกที่ได้เป็น พลเมืองเกียรติยศแห่งสหรัฐอเมริกา ผู้คนมักนิยมเรียกเขาด้วยชื่อ "วินสตัน" แทนที่จะเรียกด้วยนามสกุล

วินสตันเกิดในตระกูลชนชั้นสูงที่สืบเชื้อสายมาจากดยุกแห่งมาร์ลบะระ สาขาหนึ่งของตระกูลสเปนเซอร์ บิดาของเขาคือ ลอร์ดรันดอล์ฟ เชอร์ชิล นักการเมืองผู้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีคลัง ส่วนมารดาของเขาคือ เจนนี จีโรม นักสังคมสงเคราะห์ชาวอเมริกัน ในขณะที่ยังเป็นทหารหนุ่ม เขาได้ปฏิบัติภารกิจในบริติชอินเดีย และซูดาน และในสงครามโบเออร์ครั้งที่สอง เขามีชื่อเสียงขึ้นมาจากการเป็นนักข่าวสงครามและเขียนหนังสือเกี่ยวกับปฏิบัติการของเขา


เขาเป็นผู้มีบทบาททางการเมืองแถวหน้ามาตลอดห้าสิบปี ได้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและตำแหน่งในคณะรัฐมนตรีมากมาย



“However beautiful the strategy, you should occasionally look at the results. กลยุทธ์แม้จะสวยงามเพียงไร แต่คุณควรดูที่ผล”

Never Never Give U จงอย่าได้ยอมแพ้”

"ประชาธิปไตยไม่ใช่รูปแบบการปกครองที่ดีที่สุด แต่เป็นรูปแบบการปกครองที่เลวน้อยที่สุดต่างหาก"

“อะไรที่ไม่สำคัญ ก็ปล่อยๆ ไปบ้าง เป้าหมายของเราสำคัญกว่า”

“คุณจะไม่มีทางไปถึงยังจุดหมายได้เลย หากคุณเอาแต่หยุด แล้วปาก้อนหิน ใส่สุนัขทุกตัวที่คอยเห่าคุณ”

“เวลานั้นเป็นกลาง แต่มันจะเข้าข้างคนที่หยิบฉวยและใช้มันอย่างเต็มที่”

“เราดำรงชีวิตด้วยสิ่งที่เราได้หามา แต่เราสร้างชีวิตให้มีคุณค่าด้วยสิ่งที่เราให้ออกไป”

ที่มา  https://th.wikipedia.org/